“ปั้นคน ‘เอไอ-ดาต้าไซน์ส-ไฮบริดคลาวด์’พร้อมใช้ แก้ปัญหาเร่งด่วน
Print
Tuesday, 28 June 2022 22:23

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศร่วมแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรไอทีที่พร้อมทำงานของไทย โดยเฉพาะด้านเอไอ ดาต้าไซน์ส และไฮบริดคลาวด์ ที่มีความสำคัญต่อการรับมือดิสรัปชันทั้งในวันนี้และอนาคต ชี้การสร้างคนพร้อมใช้ที่ตอบโจทย์ตลาดคือทางออกที่ธุรกิจไทยต้องการที่สุดในเวลานี้ จับมือมหาวิทยาลัยและพันธมิตรทางธุรกิจเดินหน้าเปิดรายวิชา ยกระดับดึงการสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิค พร้อมประสานจุดแข็งของแต่ละฝ่าย นำผู้เชี่ยวชาญไอที-ธุรกิจร่วมถ่ายทอดความรู้

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว จึงเกิดเป็นโมเดล ‘สามประสาน’ ที่ดึงจุดแข็งของไอบีเอ็ม มหาวิทยาลัยต่างๆ และพันธมิตรธุรกิจ เพื่อร่วมสร้างคนไอทีพร้อมใช้ที่จะเป็นที่ต้องการของโลกธุรกิจอย่างแท้จริง โดยไอบีเอ็มจะมอบหลักสูตรเต็มภาคเรียนด้านเอไอ ดาต้าไซน์ส ไฮบริดคลาวด์ นวัตกรรมบนระบบเมนเฟรม และการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่พัฒนาขึ้นจากความเชี่ยวชาญและความเข้าใจเชิงลึกด้านเทคโนโลยีและธุรกิจของไอบีเอ็ม ร่วมด้วยการถ่ายทอดความรู้ในมุมอุตสาหกรรมและบริบทจริงของธุรกิจจากอีโคซิสเต็มของคู่ค้า แก่สถาบันการศึกษาที่เน้นตอบโจทย์ความต้องการของตลาดงาน เบื้องต้นประกอบด้วย มหาวิทยาลัยบูรพา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และจะมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพิ่มเติมภายในปีนี้ โดยมีบริษัท เอ็นทีที เดต้า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นพันธมิตรที่ร่วมนำร่อง ก่อนจะขยายความร่วมมือสู่พันธมิตรทางธุรกิจรายอื่นๆ ต่อไป

“ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในเอเชียแปซิฟิค ที่เราได้เห็นการเดินหน้าผลักดันโครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันอย่างต่อเนื่อง และมีการนำเทคโนโลยีก้าวล้ำอย่างเอไอ ดาต้าไซน์ส และไฮบริดคลาวด์เข้ามาใช้ในโลกธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ผู้บริโภคไทยในวงกว้างก็เปิดรับและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ดังเห็นได้จากปริมาณการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 230% ในช่วงสองปีที่ผ่านมา1” นางสาวแอ็กเนส เฮฟท์เบอร์เกอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของไอบีเอ็ม อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลี (ASEANZK) กล่าว “วันนี้การขาดคนที่มีทักษะพร้อมสำหรับการทำงานกำลังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของไทยและทั่วโลก ไอบีเอ็มตระหนักถึงปัญหานี้และพร้อมที่จะดึงทรัพยากร ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงอีโคซิสเต็มของคู่ค้าธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่มีประสบการณ์ เข้าร่วมแก้ปัญหาเร่งด่วนนี้ เพื่อช่วยประเทศไทยในการสร้างคนทำงานที่มีทักษะและความพร้อมอย่างแท้จริง"

“การรับมือกับปัญหาทักษะและความพร้อมของคนทำงานในแนวทางที่ยั่งยืน ย่อมไม่สามารถทำได้สำเร็จหากขาดความร่วมมือจากพันธมิตรที่มีประสบการณ์ในเชิงลึกทั้งจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงการร่วมผลักดันจากภาคการศึกษา ดังการสนับสนุนที่ได้รับจากกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำที่เริ่มนำร่องแล้วในวันนี้” นายสวัสดิ์ อัศดารณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย และ Managing Partner กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม คอนซัลติง กล่าว “ความเร่งด่วนในวันนี้ ไม่ใช่แค่การพยายามสร้างคนจำนวนมากเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมั่นใจด้วยว่าคนที่จบออกมาจะมีทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและพร้อมทำงานจริงๆ ไอบีเอ็มรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความร่วมมือจากทุกมหาวิทยาลัยในวันนี้ รวมถึงเอ็นทีที เดต้า ที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ร่วมนำร่อง โดยเราพร้อมขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย พันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงบริษัทไอทีอื่นๆ ในการร่วมผลักดันแก้ปัญหาสำคัญของประเทศในวงกว้างต่อไป”

ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่าไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคในแง่การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ โดยเฉพาะในธุรกิจอีคอมเมิร์ซและฟินเทค โดยเทคโนโลยีดิจิทัลจะสามารถสร้างเงินทุนหมุนเวียนให้ประเทศไทยได้กว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ขณะที่ World Economic Forum (WEF) คาดการณ์ว่าการปิดช่องว่างด้านทักษะทั่วโลก จะสามารถเพิ่ม GDP โลกได้ 11.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2571 โดยภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันในด้านการศึกษาและฝึกอบรม เพื่อให้ก้าวทันความต้องการของตลาด ความเปลี่ยนแปลงทางประชากร และความก้าวล้ำของเทคโนโลยีที่เดินหน้าไม่หยุดยั้ง

นอกจากการมอบหลักสูตรการเรียนการสอนตลอดภาคเรียน ที่ผ่านการคัดกรองให้ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรธุรกิจไทยแล้ว ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ ไอบีเอ็มและพันธมิตรยังจะจัดอบรมให้ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองกับคณาจารย์ รวมถึงมอบเครดิตการใช้คลาวด์ฟรีเพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าไปทดลองและฝึกใช้งานเทคโนโลยีเอไอ ดาต้าไซน์ส ไฮบริดคลาวด์ หรือแม้แต่ระบบเมนเฟรม ในแบบเดียวกับที่ใช้จริงในโลกธุรกิจ

+++++++++++++++++++++++++++++++

This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it

 

Written by :
กระแสหุ้นออนไลน์
 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment