IMFปรับGDPโลกเพิ่ม มองเศรษฐกิจโตดี แม้ยังมีความเสี่ยงในระยะยาว
Print
Thursday, 12 October 2017 07:14

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ และธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ออก บทวิเคราะห์ เรื่อง IMF ปรับ GDP โลกเพิ่ม มองเศรษฐกิจโตดี แม้ยังมีความเสี่ยงในระยะยาว โดยระบุว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook Update) ในเดือนตุลาคม 2017 ซึ่งมีการปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษ ฐกิจโลกในปี 2017 และ 2018 ขึ้นเป็น 3.6% และ 3.7% จากคาดการณ์เดิมในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่ระดับ 3.5% และ 3.6% ตามลำดับ โดยเป็นการปรับเพิ่มประมาณการทา งเศรษฐกิจจากช่วงครึ่งปีแรกจากก ารที่หลายกลุ่มประเทศมีการเติบโ ตดีเกินคาด สะท้อนถึงภาวะการฟื้นตัวต่อเนื่ องของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม

IMF เพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลก มองการเติบโตระยะสั้นดีขึ้นหลาย ภูมิภาคโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเกิ ดใหม่ เมื่อเทียบกับคาดการณ์ครั้งก่อน ทั้งในเดือนเมษายนและกรกฎาคมที่ ผ่านมา ประมาณการเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ เศรษฐกิจหลักถูกปรับขึ้น โดยประมาณการล่าสุดสำหรับเขตยูโ รโซนเติบโตที่ 2.1% และ 1.9% ในขณะที่ญี่ปุ่นเติบโตที่ 1.5% และ 0.7% ในปี 2017 และ 2018 ตามลำดับ พร้อมกันนี้ประเทศเกิดใหม่ในภูมิ ภาคเอเชีย เช่น จีนจะขยายตัวได้ราว 6.8% และ 6.5% สำหรับอินเดียจะเติบโตราว 6.7% และ 7.4% ในปี 2017 และ 2018 ตามลำดับ ในภาพรวมกลุ่มประเทศเกิดใหม่และ ประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโตได้เฉลี่ ย 4.6% ในปี 2017 และ 4.9% ในปี 2018 โดยเศรษฐกิจโลกในปี 2017 มีการเติบโตจากอุปสงค์ภายในประเ ทศและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวดีและ คาดมีแรงส่งต่อเนื่องในปี 2018 อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศที่พั ฒนาแล้วยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% แม้มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเล็กน้อ ยในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ จากความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่สหราชอาณาจักรยังเสี่ยงจา ก Brexit โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 2.2% และ 2.3% ในปี 2017 และ 2018 ตามลำดับ ปัจจัยหลักมาจากความไม่แน่นอนทา งการเมืองของสหรัฐฯ ทำให้ IMF คาดว่าจะยังไม่มีแรงกระตุ้นเพิ่ มเติมจากนโยบายการปฏิรูปภาษี สำหรับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ได้ปรับลดคาดการณ์ลงตามการเติบโ ตในช่วงครึ่งปีแรกที่ต่ำกว่าที่ คาด จากการบริโภคในประเทศที่เติบโตช้ าและค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่า อีกทั้งมองว่าการเติบโตของ สหราชอาณาจักรในระยะกลางยังมีคว ามไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของ Brexit ทั้งในด้านอุปสรรคทางการค้า การอพยพแรงงาน และกิจกรรมทางการเงินระหว่างประ เทศ

IMF มองเศรษฐกิจโลกระยะยาวเสี่ยงกว่ าระยะสั้น ในระยะสั้น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุ รกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องอาจทำ ให้เศรษฐกิจโลกเติบโตได้สูงกว่ าที่คาด แม้จะยังมีความเสี่ยงจากความไม่ แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐฯ และจาก Brexit ขณะที่ในระยะยาว มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิ จโลกโตช้ากว่าที่คาด ได้แก่ 1) ภาวะการเงินตึงตัวเกินคาดจากการ ที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวถูกปรับ สูงขึ้นตามกลไกตลาด ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยัง อยู่ในระดับต่ำ 2) ปัญหาหนี้ในจีนที่ยังคงเพิ่มขึ้ นเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษ ฐกิจจีนชะลอตัวในระยะต่อไปได้ 3) ภาวะการก่อหนี้และชำระหนี้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และประเทศที่พึ่ งพาการกู้ยืม ที่จะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยโดยรวมที่สูงขึ้ น นอกจากนี้ 4) ความเสี่ยงจากนโยบายการกีดกันทา งการค้าและปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ในคาบสมุทรเกาหลีอาจก่อให้เกิ ดความตึงเครียดและการฟื้นตั วของเศรษฐกิจโลกได้ทุกขณะ

อีไอซีมองว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รั บประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่ขยาย ตัวมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการส่งออกและท่องเที่ ยว แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน หลายๆ ประเทศจะเป็นแรงส่งให้การส่งออก ไทย และภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเ นื่อง นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงขึ้นจะ เป็นแรงสนับสนุนให้มีการลงทุนจา กต่างประเทศเข้ามาในไทยมากขึ้น อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าสำหรับเศรษฐกิจไทย แม้มีพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต่อเนื่องที่ 3.6% ในปี 2017 และ 3.5% ในปี 2018 แต่ปัจจัยด้านราคาน้ำมันโลกที่มี แนวโน้มไม่กลับไปสูงเช่นได้อดีต และปัญหากำลังซื้อภายในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำจะทำให้เงิน เฟ้อทั่วไปของไทยยังคงอยู่ในระดั บต่ำทั้งในปีนี้และปีหน้าที่ราว 0.6% และ 1% ตามลำดับ

ภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตั วขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อตลาด การเงินไทยในด้านเงินทุนเคลื่ อนย้ายในระยะต่อไป แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแล ะการลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสห รัฐฯ รวมทั้งการลดวงเงินการเข้าซื้อสิ นทรัพย์ของธนาคารกลางในเขตยูโรโ ซนและญี่ปุ่น จะทำให้เกิดความตึงตัวในตลาดการ เงินมากขึ้น หากตลาดการเงินโลกตอบสนองรุนแรง เกินกว่าที่คาด อาจส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อการ ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลดลง และอาจก่อให้เกิดการไหลย้อนกลับ ของเงินทุนในกลุ่มประเทศกำลังพั ฒนารวมถึงไทยได้ อย่างไรก็ตาม อีไอซีประเมินว่าปัจจัยดังกล่าว เป็นเพียงความเสี่ยงด้านต่ำที่เ พิ่มมากขึ้น และจะไม่ส่งผลต่อภาวะตลาดการเงิ นของไทยมากนัก เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจข องไทยยังคงดีต่อเนื่อง ประกอบกับสถานะการเงินระหว่างปร ะเทศของไทยยังคงเข้มแข็ง จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและ มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในร ะดับที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับห ลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ส่งผลต่อนัยยะค่าเงินบาทที่จะยั งคงมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะสั้น แต่จะเริ่มทยอยอ่อนค่าได้ถึง 33.5-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ ณ สิ้นปี 2018 ตามแนวโน้มการลดการผ่อนคลายทางน โยบายการเงินในกลุ่มประเทศหลัก

Written by :
กระแสหุ้นออนไลน์
 

Comments

B
i
u
Quote
Code
List
List item
URL
Name *
Code   
ChronoComments by Joomla Professional Solutions
Submit Comment